วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต



อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
  • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
  • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
  • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
  • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
  • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
  • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
  • ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
  • ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
  • ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
อ้างอิง
  • tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page35.htm

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โฮมเพจ คืออะไร ........

 โฮมเพจ  คืออะไร ........


                โฮมเพจ (Home Page)  คือเว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซท์  ปกติเว็บเพจทุกๆ หน้าในเว็บไซท์จะถูกลิงค์ (โดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม) มาจากโฮมเพจ  ดังนั้นบางครั้งจึงมีผู้ใช้คำว่าโฮมเพจโดยหมายถึงเว็บไซท์ทั้งหมด  แต่ความจริงแล้วโฮมเพจหมายถึงหน้าแรกเท่านั้น  ถ้าเปรียบกับร้านค้า โฮมเพจก็เป็นเสมือนหน้าร้านนั่นเอง  ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้โดดเด่นและน่าสนใจมาก
ที่สุด









อ้างอิง
-http://www.google.com/imgres?um=1&hl=en&biw=1058&bih=596&tbm=isch&tbnid=Yv7fPSAVl98LCM:&imgrefurl=http://sites.google.com/site/63web1945/home-page-


เว็บไซต์ คืออะไร........





 เว็บไซต์  (Web Site)  หมายถึง  กลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  เช่น กลุ่มของเว็บเพจที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ  รวมทั้งสินค้าและบริการของบริษัทหนึ่ง เป็นต้น  ภายในเว็บไซท์นอกจากเว็บเพจหรือไฟล์ HTML แล้ว  ยังประกอบไปด้วยไฟล์ชนิดอื่นๆ ที่         จำเป็นสำหรับสร้างหน้าเว็บเพจ เช่น รูปภาพ , มัลติมีเดีย , ไฟล์โปรแกรมภาษาสคลิปต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ  WWW  ซึ่งทำให้เราสามารถเรียกดูเว็บเพจในเครื่องนั้นได้  จะเรียกว่า  เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)






  อ้างอิง
http://www.google.com/imgres?um=1&hl=en&biw=1058&bih=596&tbm=isch&tbnid=kgDbuABsxEqMnM:&imgrefurl=http://school.obec.go.th/kudhuachang/les07.htm&docid=_tUJCraWL09vBM&imgurl=http://school.obec.go.th/kudhuachang/pic4.jpg&w=358&h=270&ei=oFXxT8XiJcf

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โพรโทคอล หมายถึง..........?




โพรโทคอล  หมายถึง..........?

         
  
     พรโทคอล (Protocol)     หมายถึง    กฎระเบียบที่ใช้กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่าง
 
อุปกรณ์คู่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่าย เนื่องจาก
 
อุปกรณ์เหล่านี้อาจใช้รหัสแทนข้อมูลแตกต่างกัน และ/หรือมีกระบวนการทำงานแตกต่างกัน จึงจำเป็น
 
ต้องมีตัวกลางหรือวิธีการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ความแตกต่างระหว่างอุปกรณ์หมดไป ซึ่งจะ
 
ทำให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ โพรโทคอลจึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงาน
 
ของตัวกลางนี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
 
 
 
 
 
                       
 
อ้างอิง
 
 
 

โมเด็ม คืออะไร......... ?



โมเด็ม คืออะไร......... ?

   เป็นอุปปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย
 โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อ
 สารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อม
 ต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลง
 สัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals)
 เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
 
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลง
 ข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่ง
 เมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท


                               

                                      
 
 
 
 
อ้างอิง
 
- http://202.129.0.133/createweb/00000/00000-995.html
 
- http://warwiz.com/?p=32

HTML ย่อมาจากคำว่าอะไร หมายถึง ............ ?




HTML  ย่อมาจากคำว่าอะไร  หมายถึง ............ ?

             
      HTML ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการ

สร้างโฮมเพจ

      เป็นภาษามาตรฐานสากลที่ใช้นำเสนอข้อมูลแบบผสมผสานในการสื่อสารแบบ World-Wide-

Web :WWW ( Web) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก (Internet) รูป

แบบหนึ่ง ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือ อื่นๆ จะถูกเชื่อมโยง

เข้าหากัน ด้วยชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อให้แสดงผลออกมาคล้ายกับ สิ่งพิมพ์ สไลด์ หรือ แบบมัลติมีเดีย


                   
 
 
 
 
อ้างอิง
 
 

E-mail ย่อมาจากคำว่าอะไร หมายถึง ............ ?




E-mail ย่อมาจากคำว่าอะไร  หมายถึง ............ ?

                       
                  E-mail ย่อมาจาก Electronic Mailนภาษาไทยบางครั้งเรียก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บางครั้ง

เรียก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
       
             
                ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบน

กระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่อง

หนึ่ง

                  E-mail (อีเมล์) หมายถึง จดหมายอิเลคทรอนิกส์ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันในอินเตอร์เน็ต ซึ่ง

ก่อนที่คุณจะมีอีเมล์ใช้นั้นคุณจะต้องมี E-mail Address (ที่อยู่อีเมล์)ของตัวเองเสียก่อน ถ้าคุณใช้บริการ

อินเตอร์เน็ตโดยการสมัครเป็นสมาชิกโดยตรงกับ ISP
(ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) คุณก็จะได้รับแจ้งที่อยู่อีเมล์ของตัวเองตั้งแต่สมัครสมาชิกเลยแต่ถ้า ISP ไม่

ได้ให้มาคุณก็สามารถมีที่อยู่
อีเมล์ได้ โดยขอได้ฟรีจากผู้ให้บริการอีเมล์ในอินเตอร์เน็ตทั้งที่ฟรีและไม่ฟรี