วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ประเทศไทย


ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[ก]
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[7] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[8] กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[9][10][11][12] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[13] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[14] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[15] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก แต่ก็ร่วงโรยลงช่วงหนึ่ง อันเนื่องมาจากการขยายอำนาจของพม่านับแต่ พ.ศ. 2054 ก่อนจะกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้ง ก่อนเสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร ได้นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

 

คุณประโยชน์ 10 ประการของการอ่าน



  1. การอ่านเป็นกระบวนการทางจิตใจที่ทรงพลัง การอ่านต่างจากการนั่งอยู่หน้ากล่องสี่เหลี่ยมเบาปัญญา(ทีวี ) เพราะการอ่านทำให้คุณได้ใช้สมอง ระหว่างที่อ่านหนังสือคุณจะถูกผลักดันให้ค้นหาเหตุผลให้กับสรรพสิ่งที่คุณไม่คุ้นเคย ภายใต้กระบวนการนี้คุณจะต้องใช้กลุ่มเซลล์สีเทาในสมองในการใช้ความคิดซึ่งจะช่วยให้คุณเพิ่มพูนสติปัญญา
  2. การอ่านช่วยให้คุณพัฒนาวงคำศัพท์ ยังจำได้ไหมในตอนเรียนชั้นประถม ตอนที่คุณเรียนรู้การเชื่อมโยงความหมายของศัพท์แต่ละคำโดยการอ่านบริบทของศัพท์อื่นๆในประโยคเดิม คุณก็จะได้ประโยชน์เช่นเดียวกันจากการอ่านหนังสือ ระหว่างอ่านหนังสือ โดยเฉพาะเล่มที่มีความท้าทาย คุณจะพบว่าคุณมีโอกาสได้เรียนรู้กับศัพท์ใหม่ๆจำนวนมากซึ่งไม่อาจพบได้จากวิธีอื่น
  3. การอ่านช่วยให้คุณมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสกับวัฒนธรรมและอาณาบริเวณอื่นๆในโลก คุณจะรู้จักชีวิตของผู้คนในเม็กซิโกได้อย่างไร ถ้าคุณไม่ได้อ่านเรื่องราวของเขาเหล่านั้น การอ่านช่วยให้คุณเกิดความเข้าใจในความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตของพวกเขา ฯลฯ คุณจะมีความตระหนักรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความแตกต่างของภูมิประเทศต่างๆและวิถีปฏิบัติของผู้คนในพื้นที่เหล่านั้น
  4. การอ่านช่วยพัฒนาการสร้างสมาธิและรวมศูนย์ความคิด ในการอ่านอย่างต่อเนื่องนานๆ เราจำเป็นต้องพุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่เราอ่าน การอ่านหนังสือต่างจากการอ่านข้อความในนิตยสารหรือข้อความสั้นๆหรือจดหมายอิเล็กทรอนิคในอินเทอร์เน็ทซึ่งมักจะมีข้อมูลที่มีขนาดเล็ก แต่หนังสือจะบอกเรื่องราวแก่คุณ เนื่องจากคุณต้องรวบรวมสมาธิในการอ่าน ซึ่งก็เหมือนๆกับการใช้กล้ามเนื้อนั่นเอง คือคุณจะมีสมาธิที่ดีขึ้น
  5. การอ่านเป็นการสร้างคุณค่าให้ตนเอง ยิ่งอ่านมากคุณก็ยิ่งมีความรู้ เมื่อมีความรู้มากขึ้น คุณก็มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ความมั่นใจในตัวเองที่เพิ่มพูนขึ้น ก็สร้างคุณค่าของตนเองให้แก่คุณ นี่คือปฏิกิริยาลูกโซ่ เนื่องจากคุณอ่านหนังสือได้ดี ผู้คนก็จะคอยถามหาคำตอบจากคุณ ความรู้สึกที่คุณมีต่อตนเองก็ย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน
  6. การอ่านช่วยให้ความจำดีขึ้น มีการศึกษาหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าคุณไม่ใช้ความจำที่มีอยู่ คุณก็จะสูญเสียมันไป การเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้เป็นตัวอย่างหนึ่งของเกมการเล่นกับถ้อยคำที่ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ แม้การอ่านจะไม่ใช่เกมแต่มันก็สามารถช่วยให้คุณได้บริหารกล้ามเนื้อสมองได้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน การอ่านทำให้เราต้องจดจำรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งข้อเท็จจริง และค่าตัวเลขต่างๆ และในการอ่านวรรณกรรม เราก็ต้องจดจำ เค้าโครงเรื่อง เนื้อหาสาระหลักตลอดจนตัวละครต่างๆ
  7. การอ่านช่วยให้คุณมีระเบียบวินัยมากขึ้น การจัดสรรเวลาสำหรับการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่เราทุกคนรู้ว่าเราควรทำ แต่ใครล่ะจะจัดตารางเวลาเพื่อการอ่านไว้ทุกวัน น้อยมาก...นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการเพิ่มการอ่านหนังสือเข้ามาในตารางกิจกรรมประจำวัน และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจึงสามารถเสริมสร้างระเบียบวินัยได้
  8. การอ่านช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การอ่านเรื่องราวของความหลากหลายแห่งชีวิต และการเข้าไปสัมผัสกับแนวคิดใหม่ๆและข้อมูลที่เพิ่มพูนขึ้นจะช่วยให้คุณได้พัฒนาสมองซีกที่ดูแลเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะไปช่วยจุดประกายแห่งการสร้างนวตกรรมขึ้นในกระบวนการใช้ความคิดของคุณ
  9. การอ่านช่วยให้คุณจะมีอะไรบางอย่างไว้พูดถึงเสมอ เคยบ้างไหมที่รู้สึกว่าตัวเองมีความรู้สึกอึดอัดที่ไม่รู้จะพูดคุยเรื่องอะไร เคยรู้สึกเกลียดตัวเองไหมที่ทำให้ตัวเองเสียหน้า คุณต้องการแก้ไขปัญหาแบบนี้ไหม ไม่ยากเลย เพียงคุณเริ่มอ่านหนังสือเท่านั้น การอ่านจะช่วยขยายอาณาบริเวณแห่งข้อมูลของคุณ คุณจะมีอะไรให้พูดถึงเสมอ เช่น คุณสามารถจะพูดคุยถึงโครงเรื่องในนวนิยายหลายเล่มที่คุณอ่าน คุณสามารถอภิปรายถึงสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้จากหนังสือด้านธุรกิจต่างๆที่คุณกำลังอ่านอยู่ ความเป็นไปได้ในการแบ่งปันเรื่องราวกลายเป็นเรื่องที่ไม่มีขีดจำกัดอีกต่อไป
  10. การอ่านช่วยบรรเทาความเบื่อหน่าย กฏข้อหนึ่งในหลายข้อที่ผมถือก็คือ ถ้าเริ่มรู้สึกเบื่อ ผมจะหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน สิ่งที่ผมค้นพบจากการจริงจังกับกฏข้อนี้ก็คือ ผมจะเกิดความสนใจในเรื่องราวของหนังสือแล้วหลุดจากความรู้สึกเบื่อหน่ายไปเลย ผมหมายถึงว่า ถ้าคุณเกิดรู้สึกเบื่อขึ้นมาบ้าง คุณก็คงจะหันมาอ่านหนังสือ
ประวัติและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์


เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์

คอมพิวเตอร์

คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่างอัตโนมัติและให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ รวมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

                           การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ

  • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
  • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
  • หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
  • หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
  • หน่วยแสดงผล (Output Unit)

กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือชุึดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า การประมวลผล แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์

ประวัติ

โรงเรียนลำปางกัลยาณี เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2458 โดย พล.ต.ต.เจ้าราชวงศ์ (แก้ว ภาพเมรุ ณ ลำปาง) เป็นผู้อุทิศที่ดินให้ 1 ไร่เศษ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำวัง ถนนปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ต่อมาพ่อเลี้ยง หม่อง หง่วยสิ่น สุวรรณอัตถ์ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว มี 3 ห้องเรียน แต่ไม่มี ครูสอน โรงเรียนจึงถูกทอดทิ้งไว้ให้ร้างอยู่ถึง 2 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 คุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ได้มาเที่ยวที่จังหวัดลำปาง พระยาสุเรนทร์ ราชเสนีย์ เจ้าเมืองลำปางได้ขอร้องให้ คุณครูแคลระ ทำการเปิดสอน ด้วยความ อนุเคราะห์ของโรงเรียนรัฐบาลหญิงแห่งแรกของ จังหวัดลำปาง จึงเกิดขึ้นเป็น ครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จัดสอนแบบสหศึกษา มีนักเรียนชาย 57 คน นักเรียนหญิง 3 คน มีครูเพียงคนเดียว การสอนต้องใช้วิธีจัดให้เด็กโตช่วยสอน เด็กเล็ก ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ด้วยความตั้งใจจริงของคุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ท่านได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังทรัพย์ ทำงานพัฒนาโรงเรียน แต่ลำพังผู้เดียวเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ในปี พ.ศ. 2465 จึงได้ครูที่สำเร็จจากจังหวัดพระนครมาช่วยสอน และ แบ่งเบาภาระจากท่านไปบ้าง นับได้ว่าท่านเป็น ปูชนียบุคคลที่ควรแก่การยกย่อง พ.ศ. 2478 มีนักเรียนเพิ่มขึ้น ถึง 300 คน และเปิดขยาย ชั้นเรียนถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้เกิดปัญหาในเรื่อง สถานที่คับแคบมาก สนามและที่พักผ่อนไม่พอกับจำนวนนักเรียน คุณครู แคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ จึงได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 16 ไร่ 20 ตารางวา ที่ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (สถานที่ โรงเรียน ลำปางกัลยาณีในปัจจุบัน) ด้วย ทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านเป็นจำนวนเงิน 600 บาท ปัจจุบันมีเนื้อที่ 23 ไร่เศษ
โรงเรียนได้พัฒนามาตามลำดับได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการต่างๆ คือ โครงการ คมช. รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2506-2511 และได้รับคัดเลือกให้เข้าอยู่ในโครงการ คมภ. 2 รุ่นแรก ระหว่าง ปี พ.ศ. 2517-2521 โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร (พ.ศ. 2521-2532) โรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตร (พ.ศ. 2533- ปัจจุบัน) ซึ่งโรงเรียนลำปางกัลยาณี ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ผู้อำนวยการ (อาจารย์คุณหญิงวลัย ลีลานุช) ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นชั้นพิเศษ โรงเรียนแรก ของ ภาคเหนือ และผู้บริหาร ลำดับต่อมา ได้แก่ ผู้อำนวยการ บุญรัตน์ โรจนศักดิ์ ผู้อำนวยการบุญนาค เดี่ยววิไล และผู้อำนวยการวีรยุทธ จงสถาพรพงศ์ ได้พัฒนา โรงเรียนในทุก ๆ ด้าน ให้ทันสมัยและก้าวขึ้นสู่มาตรฐานสากล จนเป็นที่ยอมรับ ของบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนเป็นที่ชื่นชมของผู้ ปกครอง และองค์กรต่าง ๆ เสมอมา จนกระทั่งปีการศึกษา 2544 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำ การใช้หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ภายใต้การบริหารงานของผู้อำนวยการบริบูรณ์ สุทธสุภา ซึ่งโรงเรียน ได้รับ ความร่วมมือ จาก บุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจน ผู้ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ทำให้การ พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนบรรลุตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และผู้บริหารลำดับต่อมา คือ ผู้อำนวยการจุรีย์ สร้อยเพชร (ปี 2547-ปัจจุบัน)